ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในศีล สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ หมั่นประกอบความเพียร ภิกษุผู้มีปกติพากเพียรอยู่อย่างนี้ ไม่เห็นแก่นอน ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุคุณอันเกษมจากโยคะ ผู้ยินดีในความไม่ประมาท มีปกติเห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพานทีเดียว
มงคลที่ ๑๔ ทำงานไม่คั่งค้าง - ผู้ไม่เกียจคร้าน
ในสังคมของชาวโลกนั้น ความสำเร็จของงานเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนต่างปรารถนา งานทุกอย่างจะสำเร็จได้เป็นอย่างดี จะต้องอาศัยธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ซึ่งธรรมบทนั้นได้แก่ อิทธิบาท ๔ คือ มีความรักในงานที่จะทำ เห็นความสำคัญของงานนั้น และใช้ความเพียรพยายาม มุมานะ อีกทั้งมีความเอาใจใส่ พิจารณาตรวจตรางานอยู่เสมอและหมั่นปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้แล้ว ย่อมบรรลุผลที่ตั้งใจอย่างแน่นอน
โทษของการเห็นผิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นธรรมสักอย่างหนึ่ง ที่มีโทษมากเหมือนอย่างมิจฉาทิฎฐิเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฎฐิเป็นอย่างยิ่ง
วิบากกรรมของการพูดเพ้อเจ้อ
มีดที่ลับคมดีแล้ว ถึงจะเหมือนยาพิษที่ร้ายแรง ก็ไม่ทำให้ตายสนิทในทันทีทันใดเหมือนกับคำพูดชั่ว
อย่าให้เกิดอาการน้อยใจ
ผู้ใดละทิ้งคนของตน ทำผู้ที่มาใหม่ให้เป็นที่รักอย่างนี้ ผู้นั้นคนเดียวจะเศร้าโศกมากมาย เหมือนพราหมณ์ธูมการีเศร้าโศกอยู่อย่างนั้น
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - ของแท้ของเทียม
วันรุ่งขึ้น เมื่อนิครนถ์ ๕๐๐ คน มาถึง สิริคุตต์ออกไปต้อนรับ พลางนึกในใจว่า "หากนิครนถ์เหล่านี้เป็นผู้รู้จริง จงอย่าเข้ามาในเรือน เพราะในเรือนนี้ไม่มีภัตตาหาร มีแต่หลุมคูถ"
วิบากกรรม "คนหาปลา" ตอนจบ
มื่อโยมพ่อของลูกได้ลืมตาขึ้นมา แล้วพบว่าตัวท่านเองอยู่ท่ามกลางวิมานไม้สีทองแล้ว ตัวท่านก็เกิดความรู้สึกที่อะเลิร์ตเต้...ตื่นเต้นดีใจอย่างสุดๆ แล้วตัวท่านก็ไม่รอช้า...ได้รีบก้มลงกราบพระธรรมกายด้วยความเคารพนอบน้อมในทันที
ความตระหนี่เป็นภัยในวัฏฏะ
คนผู้ตระหนี่กลัวความยากจนจึงไม่ให้อะไรๆ แก่ผู้ใดเลย ความกลัวยากจนนั่นแหละ จะเป็นภัยแก่ผู้ไม่ให้ คนตระหนี่ย่อมกลัวความอดอยากข้าว ความกลัวนั่นแหละ จะกลับมาถูกต้องคนพาล ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
ชีวิตชาวสวรรค์
ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติโลกสวรรค์ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - เศรษฐีผู้มีใจตระหนี่
คนตระหนี่กลัวความยากจนย่อมไม่ให้อะไรแก่ผู้ใด ความกลัวจนนั่นแหละ จะเป็นภัยแก่ผู้ไม่ให้ คนตระหนี่ย่อมกลัวความอยากข้าวอยากน้ำ ความกลัวนั่นแหละจะกลับมาสู่คนพาลทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงครอบงำมลทินกำจัดความตระหนี่เสียแล้วให้ทานเถิด เพราะบุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า